คณะกรรมการดำเนินงาน

นายเจษฎาภร สีดา

(ผู้อำนวยการ)

นางภาวินี สอนจันทร์

(ครู)

นายทวีชัย พูนไธสง

(ครู)

นางสาวพนิดา นวลติ่ง

(เจ้าหน้าที่ธุรการ)

ร่องรอยหลักฐานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

1. การดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

1.1 การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
1.1.1 ศึกษาวิเคราะห์มาตรฐานและตัวบ่งชี้ว่าด้วยการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามที่กระทรวงศึกษาประกาศใช้


1.1.2 กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา


1.1.3 กำหนดค่าเป้าหมายความสำเร็จของแต่ละมาตรฐานและตัวบ่งชี้
1.1.4 การประกาศค่าเป้าหมายแต่ละมาตรฐานและตัวบ่งชี้ว่าด้วยการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาให้กลุ่มผู้เกี่ยว ข้องทั้งภายในและภายนอกรับทราบ

1.2 การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งเน้นคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

1.2.1 ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา และความต้องการจำเป็นของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบโดยใช้ข้อมูลตามสภาพจริง

1.2.2 กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายด้านต่างๆโดยมุ่งเน้นที่คุณภาพผู้เรียนที่สะท้อนคุณภาพความสำเร็จอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
1.2.3 กำหนดวิธีการดำเนินงาน กิจกรรมโครงการที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการวิจัยหรือผลการวิจัยหรือข้อมูลที่อ้างอิงได้ให้ ครอบคลุมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ การส่งเสริมการเรียนรู้การวัดและประเมินผลการพัฒนาบุคลากร และการบริหารจัดการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามมาตรฐานที่กำหนดไว้

1.2.4 กำหนดแหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นจากภายนอกที่ให้การสนับสนุนทางวิชาการ



1.2.5 กำหนดบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจนให้บุคลากรของสถานศึกษาและผู้เรียนร่วมรับผิดชอบและดำเนินงานตามที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ


1.2.6 กำหนดบทบาทหน้าที่และแนวทางการมีส่วนร่วมของบิดามารดา ผู้ปกครอง องค์กร หน่วยงาน ชุมชน และท้องถิ่น

1.2.7 กำหนดการใช้งบประมาณและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพให้สอดคล้องกับกิจกรรมโครงการ

1.2.8 เสนอแผนพัฒนาการจัดการศึกษาต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความเห็นชอบ

1.2.9 จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

1.2.10 กำหนดปฏิทินการนำแผนปฏิบัติการประจำปีสู่การปฏิบัติที่ชัดเจน


  • ปฏิทินการปฏิบัติงานของโรงเรียน 2564


1.2.11 เสนอแผนปฏิบัติการประจำปีต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความเห็นชอบ

1.3 การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ

1.3.1 จัดโครงสร้างหรือระบบการบริหารของสถานศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา


1.3.2 กำหนดผู้รับผิดชอบและจัดระบบสารสนเทศให้เป็นหมวดหมู่เป็นปัจจุบันสะดวกต่อการเข้าถึงและการให้บริการการเชื่อมโยงเครือข่ายกับหน่วยงานต้นสังกัด

1.3.3 นำข้อมูลสารสนเทศไปใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการศึกษาและพัฒนาการเรียนการสอน

1.4 การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

1.4.1 นำแผนปฏิบัติการประจำปีแต่ละปีสู่การปฏิบัติตามกรอบระยะเวลาและกิจกรรม โครงการที่กำหนด
  • ปฏิทินการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการ
  • รายงานกิจกรรม /โครงการ


1.4.2 ผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่ได้กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด
  • รายงานผลการปฏิบัติงาน


1.5 การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

1.5.1 กำหนดผู้รับผิดชอบในการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาระดับสถานศึกษา


1.5.2 ติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาทั้งระดับบุคคลและระดับสถานศึกษาอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง

1.5.3 รายงานและนำผลการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพัฒนา

1.5.4 เตรียมการและให้ความร่วมมือในการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาจากหน่วยงานต้นสังกัด

1.6 การประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
1.6.1 ให้มีคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในอย่างน้อย 3 คน ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่หน่วยงานต้นสังกัด ขึ้นทะเบียนไว้อย่างน้อย 1 คน เข้ามามี ส่วนร่วมในกระบวนการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

1.6.2 ดำเนินการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยใช้วิธีการและเครื่องมือที่หลาก หลายและเหมาะสม

1.7 การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน
1.7.1 สรุปและจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่สะท้อนคุณภาพผู้เรียนและผลสำเร็จของการบริหารจัดการศึกษาตาม รูปแบบที่หน่วยงานต้นสังกัดกำหนด
1.7.2 นำเสนอรายงานต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความเห็นชอบ บันทึกการประชุม คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ

1.7.3 เผยแพร่รายงานต่อสาธารณชน หน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บันทึกการประชุม คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ

1.8 การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

1.8.1 ส่งเสริมแนวคิดเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาที่มุ่งการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ให้เกิดขึ้นกับครูและบุคลากรในสถานศึกษา
ทุกคนและพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้จนเป็นวัฒนธรรม ในการทำงานปกติของสถานศึกษา

1.8.2 นำผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา จากการประเมินตนเองหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเลือกสรร ข้อมูลสารสนเทศเพื่อ
นำไปใช้ประโยชน์ ต่อการพัฒนาการบริหารและการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง

1.8.3 เผยแพร่ผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนา

2. การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

2.1 การประเมินคุณภาพภายในมีการประเมิน ติดตามและตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐาน โดยคณะกรรมการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเพื่อนำผลประเมินไป ใช้ในการวางแผนพัฒนากิจกรรม/ โครงการตามบริบทของโรงเรีย


2.2 การติดตามตรวจสอบคุณภาพมีข้อมูลสารสนเทศที่แสดงแนวโน้มผลการพัฒนาคุณภาพ ผู้เรียน (รายบุคคลรายห้องเรียน รายชั้น รายกลุ่มสาระ) และคุณภาพ

การบริหารจัดการของสถานศึกษา (โครงการ/ กิจกรรม)

  • ข้อมูลผู้เรียนรายบุคคล รายห้องเรียน รายชั้น รายกลุ่มสาระ
  • คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร
  • บันทึกการแนวโน้มการพัฒนาผู้เรียน
  • บันทึกการติดตามตรวจสอบ
  • เอกสารการรายงานผลของการดำเนินงานตามกิจกรรม/ โครงการ


2.3 การพัฒนาคุณภาพการศึกษามีการกำหนด มาตรฐาน/ จัดระบบโครงสร้าง/วางแผน/ดำเนินงานตามแผน/“สร้างจิตสำนึก”ให้เห็นว่าการพัฒนาคุณภาพเป็น

“ความรับผิดชอบ”ของทุกคน